Skip to main content

บทนำเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

บทนำ

การบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างมีประสิทธิผล คือ หัวใจสำคัญ ที่จะช่วยให้คุณชิงความได้เปรียบในการแข่งขันและผลักดันให้คุณประสบความสำเร็จในการลดต้นทุน และเพิ่มพูนผลกำไร รวมถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน นำไปสู่ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า.
ในช่วงหลายทศววษที่ผ่านมา บทบาทของการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน) ได้รับการยอมรับทั่วไปว่า มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะภายใต้สภาวะการแข่งขันที่รุนแรง และมีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้จำนวนมากเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรและสมาชิกภายในห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) การเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศต่างๆ ทำให้บริษัทข้ามชาติที่มีทั้งเงินทุนมากกว่า เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่า และเทคนิคการบริหารจัดการที่ดีกว่าหลั่งไหลเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ผลระทบที่เกิดขึ้นหลายท่านอาจจะเคยได้ยินข่าวการปิดกิจการของผู้ประกอบการภาคการผลิต การขายสินค้าเกษตรกรของชาวไร่ ชาวสวน ที่มีราคาแพงกว่าสินค้าที่มีการนำเข้ามาจากประเทศจีน การประท้วงของผู้ประกอบการโชห่วยของประเทศไทยซึ่งตกเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ ปัญหาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของการประยุกต์ใช้เทคนิคและการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Logistic & Supply Chain) เพื่อสร้างความได้เปรียบในการของการลดต้นทุนให้ต่ำลง เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดีและที่สำคัญคือ เป็นสินค้าที่มีราคาถูก.
โดยสรุปคือ โลจิสติกส์ (Logistic) เกี่ยวข้องกับการนำสินค้าไป ณ สถานที่ที่มีความต้องการและตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ ทั้งนี้การนำเอาสินค้าไป ณ จุดหรือสถานที่ที่ลูกค้าต้องการนั้น จำเป็นต้องมีการบูรณาการด้านข้อมูลข่าวสาร (Information) การขนส่ง (Transportation) สินค้าคงคลัง (Inventory) คลังสินค้า (Store/Warehouse) การเคลื่อนย้ายพัสดุ ( การบรรจุหีบห่อ (Packaging) ซึ่งเป็นกระบวนการประสานกันในอันที่จะให้สินค้าหรือวัตถุดิบตั้งแต่การจัดหา การเคลื่อนย้ายสินค้าคงคลังที่มีต้นทุนและระดับการให้บริการที่เหมาะสม ขณะที่การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน บริษัทต่างๆ จะมีค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์เพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยมีค่าใช้จ่ายด้านสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น. อย่างไรก็ตามหลัง ปี พ.ศ. 2543 การนำเอาระบบการจัดการขนส่งแบบทันเวลาพอดี (Just-In-Time) เข้ามาในภาคธุรกิจมากขึ้นเป็นผลให้ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ค่าใช้จ่ายด้านสินค้าคงคลังก็มีการปรับตัวลดลง.
ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า ระบบโลจิสติกส์ (Logistic System) จะเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการไหลหรือการเคลื่อนย้ายสินค้า และการเคลื่อนย้ายของข้อมุลสารสนเทศ เพื่อให้การไหลเป้นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า การไหลโดยมีต้นทุนต่ำที่สุดและมีระดับการให้บริการแก่ลูกค้าสูงสุดและมีประสิทธิภาพที่สุด.
เมื่อพิจารณาความหมายของห่วงโซ่อุปทาน (หรือที่เรียกว่าซัพพลายเชน (supply Chain)) หมายถึง การบริหารความสัมพันธ์หรือการประสารกิจกรรมและการเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือ การบูรณาการของกระบวนการทางธุรกิจที่เริ่มต้นจากผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ผ่านไปจนถึงผู้จัดจำหน่ายขั้นแรกสุดที่ทำหน้าที่จัดหาสินค้า บริการ และสารสนเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้บริโภค โดยมีต้นทุนรวมที่ต่ำที่สุด และมีการติบสนองความต้องการของลูกค้าได้สูงที่สุด ดังนั้น การจัดการซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน) จึงหมายถึง การประสานกิจกรรมและเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มมูลค่า (Value) ในตัวสินค้า หรือบริหารที่จะส่งมอบใหกับลูกค้าโดยมีต้นทุนต่ำที่สุด.
ทั้งนี้ จากตัวอย่างของการส่งสินค้าเกษตรกรรมจากประเทศจีนเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เราจะพบว่า ถ้าไม่มีการบริหารจัดการซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน) ที่ดี ก็จะทำให้เกิดการไหลหรือการเคลื่อนย้ายที่ไม่ดีหรือไม่มีประสิทธิิภาพ เช่น เกษตรกรของจีนมีการนำเอาสารเคมีเข้ามาใช้กับสินค้าเกษตรหรือผลิตผลไม้ที่มีรสชาติหวานบ้างเปรี้ยวบ้าง หน่วยงานสุขอนามัยพืชของจีนไม่ทำการตรวจสอบสินค้าที่ดี ผู้ขนส่งสินค้าขาดการผประสานงานกับตัวแทนออกของหรือบริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้า หรือ ขาดการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออก ก็จะทำให้กระบวนการไหลหรือการเคลื่อนย้างสินค้าเกษตรไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจะเห้นได้ว่า ถ้าการจัดการซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน) ไม่ดี ก็จะทำให้เกิดการจัดการโลจิสติกส์ที่ไม่ดีด้วยเช่นกัน.
หลายคนอาจจะส่งสัยว่า กิจกรรมหรือกระบวนการใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์ ในส่วนต่อไปจะสรุปกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะพบว่า กิจกรรมโลจิสติกส์นั้น เป็นกิจกรรมที่มีขอบเขตค่อนข้างกว้าง โดยจะครอบคลุมตั้งแต่กิจกรรมการเคลื่อนย้ายสินค้า การจัดเก็บสินค้าและบริหาร และข้อมูลสารสนเทศจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน รวมทั้งยังรวมถึงการนำเอาสินค้าที่เสียหายและวัสดุที่เหลือใช้กลับมารีไซเคิลหรือมาทำลาย นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเชิงปฏิบัติการ การจัดการด้านการตลาด และการจัดการด้านวิศวกรรมอุตสาหการหรือวิศวกรรมการขนส่ง เป็นต้น.

 



Comments

Popular posts from this blog

กระบวนการจัดหา (Sourcing)

กระบวนการจัดหา (Sourcing Process/Procurement) การจัดหา เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการจัดหาวัสดุชิ้นส่วนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งอาจะจะมีทั้งในกรณีที่มีผู้จัดส่งสินค้า (Supplier) รายเดียวหรือหลายราย โดยการจัดหา คือ กระบวนการและขั้นตอนที่บริษัทนำมาใช้ในการจัดหาทรัพยากรที่เป็นจำเป้นสำหรับการผลิตสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ เครื่องมือ เครืองจักร วัสดุสิ้นเปลือง ซึ่งอาจจะรวมถึงบุคลากร. ดังนั้นการจัดหาจึงมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและคุณภาพของสินค้าและการให้บริการ การจัดหาวัตถุดิบจึงต้องวางแผนอย่างรอบคอบ และดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้โดยอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูง ทั้งนี้ธุรกิจควรคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกผู้จัดส่งสินค้า เช่น คุณภาพของวัตถุดิบ ความมั่นใจด้านแหล่งจัดหาและต้นทุนของวตถุดิบ เป็นต้น. การจัดหาเป็นกระบวนการที่จัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพตามความต้องการ ซึ่งธุรกิจอาจจะเลือกผู้จัดส่งสินค้าได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น โฆษณา วารสานและหนังสือ เว็บ"ซต์ แล้วนำข้อมูลต่างๆ มาทำการเปรียบเทียบคุณภาพ ราคาและบริการ. กระบวนการจัดหา (Sourcing) จะต้อง...

การขนส่งขาเข้า (Inbound Transport)

การขนส่ง (Transport) เป็นการขนส่งที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน รูปแบบของการขนส่งประกอบด้วยการขนส่งทถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ ทางท่อและทางอากาศ การขนส่งแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน. การขนส่งขาเข้า (Inbound Transport) เป็นการเคลื่อนย้ายวัถุดิบ ชิ้นส่วน จากผู้ขายหรือผู้ผลิต ผ่านการขนส่งด้วยวิธีต่างๆ มายังบริษัทหรือโรงงานเพื่อกาการผลิตสินค้าหรือประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไป. ดังนั้น การเลือกผู้จะต้องนำหัวข้อของการขนส่งมาพิจารณาด้วย เนื่องจากการขนส่งในรปแบบต่างๆ มีต้นทุนที่ต่างกัน ทำให้สามารถนำมาเป็นข้อพิจารณาในการเจรจาต่อรอง ความเสี่ยง การคำนวณต้นทุน  และระยะเวลาในการผลิตได้.