Skip to main content

การจัดการสินค้าคงคลังวัตถุดิบ (Raw Material Inventory Management)

ทำไมจึงต้องมีการจัดการสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ ?

ในกระบวนการผลิตนั้น 4M เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมาก ประกอบไปด้วย 
1. Man :  หมายถึงบุคลากร หมายความรวมถึงบุคลากรทางตรงซึ่งก็คือ พนักงานในการผลิต ประกอบ ตรวจสอบสินค้า และอื่นๆ ที่ทำงานในสายการผลิต และบุคลากรทางอ้อมหรือพนักงานที่สนับสนุนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิต,ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ, พนักงานฝ่ายจัดซื้อ, พนักงานฝ่ายคลังสินค้า ไปจนถึงฝ่ายบริหาร เป็นต้น.
2. Machine : เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตสินค้ารวมถึงอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ. 
3. Material : วัตถุดิบ ชิ้นส่วน ที่ใช้ในการผลิต ประกอบผลิตภัณฑ์หรือสินค้า
4. Method : ขั้นตอน กระบวนการในการผลิต แปรรูปผลิตภัณฑ์.
จะเห็นได้ว่า Material หรือ วัตถุดิบหรือชิ้นส่วน ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักเพื่อใช้ในการผลิต การที่ต้องมีสินค้าคงคลังก็เพื่อให้การผลิตดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง จะต้องมีการป้อนวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง คำว่าต่อเนื่องไม่จำเป็นต้องทำการเก็บสินค้าไว้อย่างล้นเหลือเกินความต้องการซึ่งจะมีปัญหาที่ตามมาหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป้นค่าใช้ในการเก็บรักษา บริหารจัดการสินค้าคงคลัง รวมถึงเงินที่ต้องจมไปกับการนำสินค้ามาเก็บไว้เฉยๆ.
การจัดเก็บสินค้าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น แหล่งวัตถุดิบ ใกล้/ไกล แค่ไหน, ปริมาณการใช้ตามช่วงระยะเวลาต่าง เช่น ต่อวัน ต่อเดือน ต่อปี และการพยากรณ์การใช้งานในอาคตด้วย, วิธีการขนส่งจะสัมพันณ์โดยตรงกับระยะเวลาการส่งมอบและค่าใช้จ่ายในการขนส่งซึ่งถูกนำไปรวมอยู่ในต้นทุนของวัตถุดิบ, ระยะเวลาในการขนส่ง, ความเสี่ยงจากผู้ขาย เช่น ส่งตรงเวลาบ้าง ส่งช้าบ้าง ทำให้การควบคุมเป้นไปได้อย่างลำบาก  เป็นต้น.
ดังนั้น การจัดการสินค้าคงคลังจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และต้องใช้ข้อมูลจากหลายๆ ส่วนในการพิจารณาเพื่อกำหนดนโยบายของการจัดเก้บสินค้า เช่น การพยากรณ์ความต้องการของสินค้าหรือวัตถุดิบ, การหาปริมาณความต้องการขั้นต่ำ, การเฝ้าติดามและวิเคราะหข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลัง ไม่ว้าจะเป็นสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหวเลย หรือ Dead Stock และสินค้าที่เคลื่อนไหวช้า หรือ Slow Moving เป้นต้น.

Comments

Popular posts from this blog

บทนำเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

บทนำ การบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างมีประสิทธิผล คือ หัวใจสำคัญ ที่จะช่วยให้คุณชิงความได้เปรียบในการแข่งขันและผลักดันให้คุณประสบความสำเร็จในการลดต้นทุน และเพิ่มพูนผลกำไร รวมถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน นำไปสู่ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า. ในช่วงหลายทศววษที่ผ่านมา บทบาทของการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน) ได้รับการยอมรับทั่วไปว่า มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะภายใต้สภาวะการแข่งขันที่รุนแรง และมีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้จำนวนมากเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรและสมาชิกภายในห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) การเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศต่างๆ ทำให้บริษัทข้ามชาติที่มีทั้งเงินทุนมากกว่า เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่า และเทคนิคการบริหารจัดการที่ดีกว่าหลั่งไหลเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ผลระทบที่เกิดขึ้นหลายท่านอาจจะเคยได้ยินข่าวการปิดกิจการของผู้ประกอบการภาคการผลิต การขายสินค้าเกษตรกรของชาวไร่ ชาวสวน ที่มีราคาแพงกว่าสินค้าที่มีการนำเข้ามาจากประเทศจีน การประท้วงของผู้ประกอบการโชห่วยของประเทศไทยซึ่งตกเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ ปัญหาดังกล่าวสะท้...

กระบวนการจัดหา (Sourcing)

กระบวนการจัดหา (Sourcing Process/Procurement) การจัดหา เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการจัดหาวัสดุชิ้นส่วนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งอาจะจะมีทั้งในกรณีที่มีผู้จัดส่งสินค้า (Supplier) รายเดียวหรือหลายราย โดยการจัดหา คือ กระบวนการและขั้นตอนที่บริษัทนำมาใช้ในการจัดหาทรัพยากรที่เป็นจำเป้นสำหรับการผลิตสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ เครื่องมือ เครืองจักร วัสดุสิ้นเปลือง ซึ่งอาจจะรวมถึงบุคลากร. ดังนั้นการจัดหาจึงมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและคุณภาพของสินค้าและการให้บริการ การจัดหาวัตถุดิบจึงต้องวางแผนอย่างรอบคอบ และดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้โดยอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูง ทั้งนี้ธุรกิจควรคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกผู้จัดส่งสินค้า เช่น คุณภาพของวัตถุดิบ ความมั่นใจด้านแหล่งจัดหาและต้นทุนของวตถุดิบ เป็นต้น. การจัดหาเป็นกระบวนการที่จัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพตามความต้องการ ซึ่งธุรกิจอาจจะเลือกผู้จัดส่งสินค้าได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น โฆษณา วารสานและหนังสือ เว็บ"ซต์ แล้วนำข้อมูลต่างๆ มาทำการเปรียบเทียบคุณภาพ ราคาและบริการ. กระบวนการจัดหา (Sourcing) จะต้อง...

การขนส่งขาเข้า (Inbound Transport)

การขนส่ง (Transport) เป็นการขนส่งที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน รูปแบบของการขนส่งประกอบด้วยการขนส่งทถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ ทางท่อและทางอากาศ การขนส่งแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน. การขนส่งขาเข้า (Inbound Transport) เป็นการเคลื่อนย้ายวัถุดิบ ชิ้นส่วน จากผู้ขายหรือผู้ผลิต ผ่านการขนส่งด้วยวิธีต่างๆ มายังบริษัทหรือโรงงานเพื่อกาการผลิตสินค้าหรือประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไป. ดังนั้น การเลือกผู้จะต้องนำหัวข้อของการขนส่งมาพิจารณาด้วย เนื่องจากการขนส่งในรปแบบต่างๆ มีต้นทุนที่ต่างกัน ทำให้สามารถนำมาเป็นข้อพิจารณาในการเจรจาต่อรอง ความเสี่ยง การคำนวณต้นทุน  และระยะเวลาในการผลิตได้.