ความหมายของซัพพลายเชน หรือ ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
มีผู้นิยามไว้หลายท่าน ดังนี้- Copper and Ellram นิยามไว้ดังนี้ : ซัพพลายเชนเป็นวิธีการบูรณราการเพื่อการจัดการ การเคลื่อนย้ายสินค้าทั้งหมดในช่องทางจำหน่ายจากซัพพลายเออร์จนถึงลูกค้าคนสุดท้าย.
- Battaglia and Tyndall นิยามไว้ดังนี้ : ซัพพลายเชนเป็นแนวคิดเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวขอ้งกับความเข้าใจและการจัดการกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นลำดับจากซัพพลายเออร์ไปถึงลูกค้าซึ่งเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ตลอดเส้นทางอุปทาน.
- Strenger and Coyle นิยามไว้ดังนี้ : ซัพพลายเชนคือ การจัดการบูรณาการกิจกรรมโลจิสติกส์ การแปรสภาพและบริการอย่างเป็นไปตามลำดับจากซัพพลายเออร์จนถึงลูกค้าคนสุดท้ายซึ่งจำเป็นต่อการผลิตสินค้าหรือการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล.
- Lambert, Copper and Pagh นิยามไว้ดังนี้ : การจัดการซัพพลายเชนเป็นบูรณาการกระบวนการธุรกิจหลัก ตั้งแต่ขั้นสุกท้ายจนถึงผู้ผลิตต้นทางซึ่งผลิตสินค้า บริการและสารสนเทศที่เพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย.
สรุป
ตามนิยามข้างต้นสรุปได้ว่า ซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทาน เป็นเรื่องการเคลื่อนย้าบและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้ายปลายทางผู้บริโภค กระบวนการในแต่ละขั้นตอน ห่วงโซ่อุปทานจะเพิ่มคุณค่าสินค้าซึ่งเกิดจากการประสานงานของสมาชิกในห่วงโซ่อุปทานและบูรณาการโลจิสติกส์ในทุกขั้นตอน ตลอดเส้นทางห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และผู้เกี่ยวข้องได้ประโยชน์ร่วมกัน.การบริหารห่าวงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชน เป็นการบริหารการทำงานร่วมกันระหว่างกิจการที่อย่ในสายการผลิตตลอดสาย ตั้งแต่กระบวนการผลิตไจนจบกระบวนการที่ผู้บริโภค โดยมีการแบ่งปันข่าวสารข้อมูลที่จำเป็น และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดร่วัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการลดต้นทุนให้ต่ำสุด และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้สงสุด ผลที่ได้จะทำให้ผู้ประกอบการตลอดสายสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินงานที่ดีขึ้น สามารถแข่งขันในตลาดได้ดีขึ้น.
หรืออีกนัยหนึ่งคือ การบริหารห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชน เป็นการบริหารกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ จนกระทั่งผลิตเสรจแล้วส่งต่อไปยังผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ริโภคกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งการบริการนี้จะแนะนำให้สมาชิกแต่ละรายที่อยู่ในองการไหลของสินค้าไม่ควรเก็บสต๊อกไว้มากเกินไป แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องเก็บสต๊อกสินค้า ก็ให้ศูนย์กระจายภูมิภาคเป็นผู้ทำการเก็บรักษาแทนที่จะเป็นร้านส่งหรือร้านค้าปลีกอย่างที่เคยปฏิบัติมาในอดีต ทำให้การบริหารห่วงโซ่อุปทานหรือวัพพลายเชนต้องมีการประสานความร่วมมือกันในกิจกรรมต่างๆ เช่น การผลิต การกระจายสินค้า การตลาด และการวางแผนด้านวงจรการสั่งสินค้าและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น.
Comments
Post a Comment