Skip to main content

วิวัฒนาการของระบบโลจิสติกส์ (Logistic Evolution)

ความหมายของ โลจิสติกส์

โดยทั่วไปมีผู้ให้คำนิยามของโลจิสติกส์ไว้หลายท่าน ซึ่งคำนิยามดังกลาวยังไม่มีข้อยุติ เนื่องจากนักวิชาการที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป อย่างไรก้ตาม แม้ว่าจะมีคำนิยามที่แตกต่างกันออกไป แต่สาระสำคัญแล้วจะไม่แตกต่างกัน โดยจะแตกต่างกันตรงถ้อยคพที่ใช้ ยกตัวอย่าง นิยามของโลจิสติกส์ที่มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน อาทิ เช่น
Council of Supply Chain Management Professional [2006] ได้ให้ความหมายของการจัดการโลจิสติกส์ไว้ดังนี้ การจัดการโลจิสติกส์ คือ ส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานซึ่งเป็นกระบวนการในการวางแผน การนำเสนอ และการควบคุมการไหลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการเก็บสินค้า บริการ และข้อมูลทีที่เกี่ยวข้องจากจุดเริมต้นในการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภค เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค.
การจัดการโลจิสติกส์ (Logistic Management) คือ กระบวนการของการวางแผน การเตรียม การนำไปใช้และการประเมินผลของทุกหน้าที่ทางโลจิสติกส์ซึ่งสนับสนุนงานหรือกิจกรรมต่างๆ.
การจัดการโลจิสติกส์ (Logistic Management) คือ การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการจัดซื้อ จัดหา การเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัตถุดิบ ชิ้นส่วนและสินค้าคงคลัง (ซึ่งเกี่ยวข้องกับการไหลของข้อมูล) ตลอดทุกหน่วยงานขององค์กรโดยผ่านทางช่องทางของการตลาด เพื่อสร้างประโยชน์สุงสุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ.
การจัดากรโลจิสติกส์ (Logistic Management) คือ กระบวนการวางแผน การปฏิบัติการและควบคุม การเคลื่อนย้าง การจัดเก็บสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการให้บริการและสารสนเทศที่เกียวข้อง ตั้งแต่จุดกำเนิดไปจนถึงจุดการบริโภคสินค้า เพื่อวัตถุประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า.
เพื่อพิจารณานิยามที่ได้จากนักวิชาการ นักวิจัยและแหล่งที่มาต่างๆ เหล่านี้ พบว่า ความคล้ายคลึงของการนิยามการจัดการดลจิสติกส์มุ่งเน้นไปที่ เรื่องของกระบวนการในการวางแผน การควบคุมการไหลของวัตถุดิบ และข้อมูลจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย โดยที่การจัดการจะอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล.
ในทิศทางตรงกันข้าม ความแตกต่างของความหมายของการจัดการโลจิสติกส์ (Logistic Management) ที่ได้จากการศึกษา ได้แก่ การนำไปใช้และการประเมินผลของกิรรมทางโลจิสติกส์ ซึ่งในขณะเดียวกัน Christopher กล่าวว่า การจัดการโลจิสติกส์เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการจัดซื้อจัดหาและการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ.
ทั้งนี้กล่าวโดยสรุป โลจิสติกส์ คือ การออกแบบและการจัดการระบบการควบคุมการเคลื่อนย้ายหรือการไหลของสินค้าและข้อมูลจากต้นทางมายังบริษัท ที่บริษัทออกไปยังลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือ การเคลื่อนย้ายพัสดุและข้อมุลตั้งแต่วัตถุดิบไปจนเป็นสินค้าสำเร็จรูจ จากต้นทางไปยังปลายทางจนถึงผู้บริโภค โดนมีการประสานงานในแต่ละขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล. ซึ่งจะเห็นว่า โลจิสติกส์นั้น ครอบคุลมทุกกิจกรรม และกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าทั้งหมด ทุกระดับ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยวิธีการเชิงระบบ ซึ่งบริษัทจะทำการเชื่อมโยงระบบและกิจกรรมต่างๆ ของระบบสินค้าภายในบริษัทเข้าด้วยกัน แทนที่จะแยกปฏิบัติแต่ละกิจกรรมอย่างที่เคยทำมาและยอมรับการติดต่อและประสานงานระหว่างบริษัทและองค์กรภายนอก. นอกจากนี้ โลจิสติกส์ จะถูกมองอย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องเสมือนแม่น้ำที่ไหลผ่านภูมิประเทศที่แตกต่างกันไป ความแตกต่างของพื้นที่ภูมิประเทศไม่ใช่จุดสำคัญ แต่ทว่าจุดสำคัญอยู่ที่การไหลของแม่น้ำ หรือเรามักรู้จักในชื่อแบบจำลองห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชน (Supply Chain Modelling)  ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกระบวนการไหลเป็นลูกโซ่.

Comments

Popular posts from this blog

บทนำเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

บทนำ การบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างมีประสิทธิผล คือ หัวใจสำคัญ ที่จะช่วยให้คุณชิงความได้เปรียบในการแข่งขันและผลักดันให้คุณประสบความสำเร็จในการลดต้นทุน และเพิ่มพูนผลกำไร รวมถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน นำไปสู่ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า. ในช่วงหลายทศววษที่ผ่านมา บทบาทของการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน) ได้รับการยอมรับทั่วไปว่า มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะภายใต้สภาวะการแข่งขันที่รุนแรง และมีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้จำนวนมากเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรและสมาชิกภายในห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) การเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศต่างๆ ทำให้บริษัทข้ามชาติที่มีทั้งเงินทุนมากกว่า เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่า และเทคนิคการบริหารจัดการที่ดีกว่าหลั่งไหลเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ผลระทบที่เกิดขึ้นหลายท่านอาจจะเคยได้ยินข่าวการปิดกิจการของผู้ประกอบการภาคการผลิต การขายสินค้าเกษตรกรของชาวไร่ ชาวสวน ที่มีราคาแพงกว่าสินค้าที่มีการนำเข้ามาจากประเทศจีน การประท้วงของผู้ประกอบการโชห่วยของประเทศไทยซึ่งตกเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ ปัญหาดังกล่าวสะท้...

กระบวนการจัดหา (Sourcing)

กระบวนการจัดหา (Sourcing Process/Procurement) การจัดหา เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการจัดหาวัสดุชิ้นส่วนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งอาจะจะมีทั้งในกรณีที่มีผู้จัดส่งสินค้า (Supplier) รายเดียวหรือหลายราย โดยการจัดหา คือ กระบวนการและขั้นตอนที่บริษัทนำมาใช้ในการจัดหาทรัพยากรที่เป็นจำเป้นสำหรับการผลิตสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ เครื่องมือ เครืองจักร วัสดุสิ้นเปลือง ซึ่งอาจจะรวมถึงบุคลากร. ดังนั้นการจัดหาจึงมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและคุณภาพของสินค้าและการให้บริการ การจัดหาวัตถุดิบจึงต้องวางแผนอย่างรอบคอบ และดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้โดยอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูง ทั้งนี้ธุรกิจควรคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกผู้จัดส่งสินค้า เช่น คุณภาพของวัตถุดิบ ความมั่นใจด้านแหล่งจัดหาและต้นทุนของวตถุดิบ เป็นต้น. การจัดหาเป็นกระบวนการที่จัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพตามความต้องการ ซึ่งธุรกิจอาจจะเลือกผู้จัดส่งสินค้าได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น โฆษณา วารสานและหนังสือ เว็บ"ซต์ แล้วนำข้อมูลต่างๆ มาทำการเปรียบเทียบคุณภาพ ราคาและบริการ. กระบวนการจัดหา (Sourcing) จะต้อง...

การขนส่งขาเข้า (Inbound Transport)

การขนส่ง (Transport) เป็นการขนส่งที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน รูปแบบของการขนส่งประกอบด้วยการขนส่งทถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ ทางท่อและทางอากาศ การขนส่งแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน. การขนส่งขาเข้า (Inbound Transport) เป็นการเคลื่อนย้ายวัถุดิบ ชิ้นส่วน จากผู้ขายหรือผู้ผลิต ผ่านการขนส่งด้วยวิธีต่างๆ มายังบริษัทหรือโรงงานเพื่อกาการผลิตสินค้าหรือประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไป. ดังนั้น การเลือกผู้จะต้องนำหัวข้อของการขนส่งมาพิจารณาด้วย เนื่องจากการขนส่งในรปแบบต่างๆ มีต้นทุนที่ต่างกัน ทำให้สามารถนำมาเป็นข้อพิจารณาในการเจรจาต่อรอง ความเสี่ยง การคำนวณต้นทุน  และระยะเวลาในการผลิตได้.