Skip to main content

Posts

Showing posts from 2017

การรับและเก็บรักษาสินค้า (Receiving and Storage)

เมื่อขนวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนมายังโรงงานทั้งในกรณีที่ผู้ขาย (Supplier) มาส่งเองหรือกรณีที่ผู้ซื้อไปรับถึงสถานที่ของผู้ขายตามที่ตกลงกัน แต่ส่วนมากผู้ซื้อจะร้องขอจะให้ผู้ขายมาส่งถึงที่ถ้าเป็นการสั่งซื้อภายในประเทศ เพื่อความสะดวกในการตรจสอบคุณภาพ แต่ถ้าเป็นการซื้อขายจากต่างประเทศ จะมีเงื่อนไขค่อนข้างเยอะ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ เช่น ผู้ซื้อรับผิดชอบเรื่องค่าขนส่ง การนำเข้า ภาษี แต่ในกรณีที่สินค้าไม่ได้ตามสเปคหรือเงื่อนไขที่ตกลงกัน ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้ หลายๆ กรณีผู้ขายบอกว่าสามารถเปลี่ยนสินค้าได้ฟรี ยินดีคืนเงิน แต่ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งเพื่อส่งสินค้ากลับไปยังผู้ขาย เป็นต้น.  เมื่อสินค้าหรือวัตถุดิบมาถึงสภานที่ของผู้ซื้อ พนักงานฝ่ายตรวจรับหรือตรวจสอบคุณภาพ (Incoming Inspection) จะทำการตรวจสอบสินค้าในด้านคุณภาพและจำนวนว่าถูกต้องตามข้อกำหนดหรือ Specification ที่ตกลงซื้อขายกันหรือไม่โดยอ้างอิงตามหลักฐาน เอกสาร สัญญา สินค้าจริงประกอบกัน เมื่อมีการตรวจรับสินค้าแล้วจะเก็บรกัษาในสถานที่ที่เหมาะสม สภาพแว...

การจัดการและกระจายสินค้า

การจัดการและกระจายสินค้า ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆๆ ที่สินค้าจะไหลออกจากโรงงานหรือบริษัท ทั้งนี้สินค้าที่ไหลจะอยู่ในสถานะที่หยุดนิ่ง หมายถึง สินค้านั้นอยู่ในคงคลังหรือศูนน์กระจายสินค้า และสินค้าอยู่ในสถาะเคลลื่อนไหว หมายถึง เมื่อสินค้านั้นกำลังถูกขนส่งหรือถูกเคลื่อนย้ายจากจากหนึ่งไปยังอีกจุดหนึง ทั้งนี้กิจกจรรมการกระจายสินค้าประกอบด้วยกิจกรรมย่อยดังนี้ การประมวลคำสั่งซื้อ (Order Processing) การจัดการสินค้าคงคลัง (Finished Goods Inventory Management) คลังสินค้า (Warehousing) การเคลื่อนย้ายพัสดุ (Material Handling กรบรรจุหีบห่อ (Packaging) การขนส่งสินค้าขาออก (Outbound Service) การบริการลูกค้า (Customer Service)

กระบวนการจัดซื้อ (Purchasing)

กระบวนกาจัดซื้อ (Purchasing) เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทีความสำคัญ โดยแนวทางการจัดการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจะพิจารณาที่มูลค่าและประเภทของสินค้า ทั้งนี้ เทคนิคการจัดซื้อที่มีการนิยมใช้ทั่วไปหลายรูปแบบ เช่น เทคนิค ABC Analysis หรือเทคนิค 80/20 ของพาเรโต โดยสินค้าที่มีมูลค่ามาก การจัดซื้อสูงจะต้องมีการควบคุมอย่างใกล้ชิด เรียกสินค้ากลุ่มนี้ว่า กลุ่ม A กลุ่มนี้อาจมีมูลค่าของสินค้าคงคลังมากถึงร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าคงคลังรวม แต่เป็นสินค้าเพียงไม่กี่รายการหรือเพียงร้อยละ 1 ของรายการสินค้าทั้งหมด, กลุ่มที่มการซื้อระดับปานกลางหรือกลุ่ม B ซึ่งอาจมีมค่าสินค้าคงคลังรวมร้อยละ 15 และมีรายการสินค้าร้อยละ 30 ในขณะที่กลุ่ม C มีมูลค่าการซื้อรวมร้อยละ 5 แต่มีรายการสินค้าร้อยละ 69 เป็นต้น. การจัดซื้อควรให้ความสำคัญกับสินค้ากลุ่ม A โดยใช้การสั่งซื้อแบบทันเวลาพอดี (Just In Time) ซึ่งเน้นการซื้อบ่อย และมีความถี่ในการส่งมอบสูง ส่วนกลุ่ม B อาจตกลงส่งมอบทุกสัปดหา์หรือมีสินค้าคงคลังพอเพียง สำหรับ 7 วัน ส่วนกลุ่ม C ซึ่งมีการ้น้อยอาจส่งมอบสินค้าทุก 1 เดือน หรือ 3 เดือน. การแก้ปัญหากลุ่ม B และกลุ่ม C โดยจะซื้อเป็นส...

การจัดการสินค้าคงคลังวัตถุดิบ (Raw Material Inventory Management)

ทำไมจึงต้องมีการจัดการสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ ? ในกระบวนการผลิตนั้น 4M เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมาก ประกอบไปด้วย  1. Man :  หมายถึงบุคลากร หมายความรวมถึงบุคลากรทางตรงซึ่งก็คือ พนักงานในการผลิต ประกอบ ตรวจสอบสินค้า และอื่นๆ ที่ทำงานในสายการผลิต และบุคลากรทางอ้อมหรือพนักงานที่สนับสนุนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิต,ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ, พนักงานฝ่ายจัดซื้อ, พนักงานฝ่ายคลังสินค้า ไปจนถึงฝ่ายบริหาร เป็นต้น. 2. Machine : เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตสินค้ารวมถึงอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ.  3. Material : วัตถุดิบ ชิ้นส่วน ที่ใช้ในการผลิต ประกอบผลิตภัณฑ์หรือสินค้า 4. Method : ขั้นตอน กระบวนการในการผลิต แปรรูปผลิตภัณฑ์. จะเห็นได้ว่า Material หรือ วัตถุดิบหรือชิ้นส่วน ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักเพื่อใช้ในการผลิต การที่ต้องมีสินค้าคงคลังก็เพื่อให้การผลิตดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง จะต้องมีการป้อนวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง คำว่าต่อเนื่องไม่จำเป็นต้องทำการเก็บสินค้าไว้อย่างล้นเหลือเกินความต้องการซึ่งจะมีปัญหาที่ตามมาหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป้นค่าใช้...

การขนส่งขาเข้า (Inbound Transport)

การขนส่ง (Transport) เป็นการขนส่งที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน รูปแบบของการขนส่งประกอบด้วยการขนส่งทถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ ทางท่อและทางอากาศ การขนส่งแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน. การขนส่งขาเข้า (Inbound Transport) เป็นการเคลื่อนย้ายวัถุดิบ ชิ้นส่วน จากผู้ขายหรือผู้ผลิต ผ่านการขนส่งด้วยวิธีต่างๆ มายังบริษัทหรือโรงงานเพื่อกาการผลิตสินค้าหรือประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไป. ดังนั้น การเลือกผู้จะต้องนำหัวข้อของการขนส่งมาพิจารณาด้วย เนื่องจากการขนส่งในรปแบบต่างๆ มีต้นทุนที่ต่างกัน ทำให้สามารถนำมาเป็นข้อพิจารณาในการเจรจาต่อรอง ความเสี่ยง การคำนวณต้นทุน  และระยะเวลาในการผลิตได้.

กระบวนการจัดหา (Sourcing)

กระบวนการจัดหา (Sourcing Process/Procurement) การจัดหา เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการจัดหาวัสดุชิ้นส่วนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งอาจะจะมีทั้งในกรณีที่มีผู้จัดส่งสินค้า (Supplier) รายเดียวหรือหลายราย โดยการจัดหา คือ กระบวนการและขั้นตอนที่บริษัทนำมาใช้ในการจัดหาทรัพยากรที่เป็นจำเป้นสำหรับการผลิตสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ เครื่องมือ เครืองจักร วัสดุสิ้นเปลือง ซึ่งอาจจะรวมถึงบุคลากร. ดังนั้นการจัดหาจึงมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและคุณภาพของสินค้าและการให้บริการ การจัดหาวัตถุดิบจึงต้องวางแผนอย่างรอบคอบ และดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้โดยอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูง ทั้งนี้ธุรกิจควรคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกผู้จัดส่งสินค้า เช่น คุณภาพของวัตถุดิบ ความมั่นใจด้านแหล่งจัดหาและต้นทุนของวตถุดิบ เป็นต้น. การจัดหาเป็นกระบวนการที่จัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพตามความต้องการ ซึ่งธุรกิจอาจจะเลือกผู้จัดส่งสินค้าได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น โฆษณา วารสานและหนังสือ เว็บ"ซต์ แล้วนำข้อมูลต่างๆ มาทำการเปรียบเทียบคุณภาพ ราคาและบริการ. กระบวนการจัดหา (Sourcing) จะต้อง...

กิจกรรมต่างๆ ในระบบโลจิสติกส์

ระบบโลจิสติกส์ประกอบด้วย 2 ส่วน หลัก ๆ คือ 1. ระบบสินค้าและข้อมูลที่ไหลเข้ามายังบริษัทหรือโรงงาน เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า เรียกว่า "การจัดการพัสดุหรือวัตถุดิบ (Material Management)" 2. ระบบที่สองเกิดขึ้นเมื่อผู้ผลิต ทำการผลิตสินค้าเสร้จแล้วและสินค้าจะไหลออกจากบริษัทหรือโรงงานไปยังลูกค้า เรียกว่า "การจัดการะจายสินค้า (Physical Distribution Management) " ขณพที่แต่ละส่วนประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ คือ การจัดการพัสดุ หรือ วัตถุดิบ (Material Management) ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย คือ การจัดหา (Sourcing) การจัดซื้อ (Purchasing การขนส่งขาเข้า (Inbound Transport) การรับและการเก็บรักษาสินค้า (Receiving and Storage การจัดการคลังสินค้าและวัตถุดิบ (Raw Material Inventory Management) การจัดการกระจายสินค้า (Physical Distribution Management) ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย คือ การประมวลการสั่งซื้อ (Order Processing การจัดการสินค้าคงคลัง (Finished Goods Inventory Management) คลังสินค้า Warehousing) การเคลื่อนย้ายพัสดุ (Material Handling) การบรรจุหีบห่อ (Packaging) ก...

ความหมายของซัพพลายเชน หรือ ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

ความหมายของซัพพลายเชน หรือ ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)  มีผู้นิยามไว้หลายท่าน ดังนี้ Copper and Ellram นิยามไว้ดังนี้ : ซัพพลายเชนเป็นวิธีการบูรณราการเพื่อการจัดการ การเคลื่อนย้ายสินค้าทั้งหมดในช่องทางจำหน่ายจากซัพพลายเออร์จนถึงลูกค้าคนสุดท้าย. Battaglia and Tyndall นิยามไว้ดังนี้ : ซัพพลายเชนเป็นแนวคิดเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวขอ้งกับความเข้าใจและการจัดการกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นลำดับจากซัพพลายเออร์ไปถึงลูกค้าซึ่งเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ตลอดเส้นทางอุปทาน. Strenger and Coyle นิยามไว้ดังนี้ : ซัพพลายเชนคือ การจัดการบูรณาการกิจกรรมโลจิสติกส์ การแปรสภาพและบริการอย่างเป็นไปตามลำดับจากซัพพลายเออร์จนถึงลูกค้าคนสุดท้ายซึ่งจำเป็นต่อการผลิตสินค้าหรือการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล. Lambert, Copper and Pagh นิยามไว้ดังนี้ : การจัดการซัพพลายเชนเป็นบูรณาการกระบวนการธุรกิจหลัก ตั้งแต่ขั้นสุกท้ายจนถึงผู้ผลิตต้นทางซึ่งผลิตสินค้า บริการและสารสนเทศที่เพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย. สรุป ตามนิยามข้างต้นสรุปได้ว่า ซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทาน เป็นเรื่องการเคลื่อนย้าบและเ...

วิวัฒนาการของระบบโลจิสติกส์ (Logistic Evolution)

ความหมายของ โลจิสติกส์ โดยทั่วไปมีผู้ให้คำนิยามของโลจิสติกส์ไว้หลายท่าน ซึ่งคำนิยามดังกลาวยังไม่มีข้อยุติ เนื่องจากนักวิชาการที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป อย่างไรก้ตาม แม้ว่าจะมีคำนิยามที่แตกต่างกันออกไป แต่สาระสำคัญแล้วจะไม่แตกต่างกัน โดยจะแตกต่างกันตรงถ้อยคพที่ใช้ ยกตัวอย่าง นิยามของโลจิสติกส์ที่มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน อาทิ เช่น Council of Supply Chain Management Professional [2006] ได้ให้ความหมายของการจัดการโลจิสติกส์ไว้ดังนี้ การจัดการโลจิสติกส์ คือ ส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานซึ่งเป็นกระบวนการในการวางแผน การนำเสนอ และการควบคุมการไหลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการเก็บสินค้า บริการ และข้อมูลทีที่เกี่ยวข้องจากจุดเริมต้นในการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภค เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค. การจัดการโลจิสติกส์ (Logistic Management) คือ กระบวนการของการวางแผน การเตรียม การนำไปใช้และการประเมินผลของทุกหน้าที่ทางโลจิสติกส์ซึ่งสนับสนุนงานหรือกิจกรรมต่างๆ. การจัดการโลจิสติกส์ (Logistic Management) คือ การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการจัดซื้อ จัดหา การเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บว...

บทนำเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

บทนำ การบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างมีประสิทธิผล คือ หัวใจสำคัญ ที่จะช่วยให้คุณชิงความได้เปรียบในการแข่งขันและผลักดันให้คุณประสบความสำเร็จในการลดต้นทุน และเพิ่มพูนผลกำไร รวมถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน นำไปสู่ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า. ในช่วงหลายทศววษที่ผ่านมา บทบาทของการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน) ได้รับการยอมรับทั่วไปว่า มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะภายใต้สภาวะการแข่งขันที่รุนแรง และมีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้จำนวนมากเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรและสมาชิกภายในห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) การเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศต่างๆ ทำให้บริษัทข้ามชาติที่มีทั้งเงินทุนมากกว่า เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่า และเทคนิคการบริหารจัดการที่ดีกว่าหลั่งไหลเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ผลระทบที่เกิดขึ้นหลายท่านอาจจะเคยได้ยินข่าวการปิดกิจการของผู้ประกอบการภาคการผลิต การขายสินค้าเกษตรกรของชาวไร่ ชาวสวน ที่มีราคาแพงกว่าสินค้าที่มีการนำเข้ามาจากประเทศจีน การประท้วงของผู้ประกอบการโชห่วยของประเทศไทยซึ่งตกเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ ปัญหาดังกล่าวสะท้...